此網頁需要支援 JavaScript 才能正確運行,請先至你的瀏覽器設定中開啟 JavaScript。

This webpage requires JavaScript to function properly. Please enable JavaScript in your browser settings.

Cette page web nécessite JavaScript pour fonctionner correctement. Veuillez activer JavaScript dans les paramètres de votre navigateur.

Esta página web requiere JavaScript para funcionar correctamente. Por favor, habilite JavaScript en la configuración de su navegador.

Diese Webseite benötigt JavaScript, um ordnungsgemäß zu funktionieren. Bitte aktivieren Sie JavaScript in Ihren Browser-Einstellungen.

Для корректной работы этой веб-страницы требуется поддержка JavaScript. Пожалуйста, включите JavaScript в настройках вашего браузера.

このウェブページを正常に動作するにはJavaScriptが必要です。ブラウザの設定でJavaScriptを有効にしてください。

이 웹 페이지는 올바르게 작동하려면 JavaScript가 필요합니다. 브라우저 설정에서 JavaScript를 활성화하십시오.

Tato webová stránka vyžaduje pro svůj správný chod podporu JavaScriptu. Prosím, povolte JavaScript v nastavení vašeho prohlížeče.

Ez a weboldal a megfelelő működéshez JavaScript támogatásra szorul. Kérjük, engedélyezze a JavaScript használatát a böngészőjében.

Questa pagina web richiede JavaScript per funzionare correttamente. Si prega di abilitare JavaScript nelle impostazioni del browser.

Šī tīmekļa lapa darbībai ir vajadzīgs JavaScript atbalsts. Lūdzu, ieslēdziet JavaScript savā pārlūkprogrammas iestatījumos.

Esta página da web requer JavaScript para funcionar corretamente. Por favor, ative o JavaScript nas configurações do seu navegador.

Deze webpagina vereist JavaScript om correct te functioneren. Schakel JavaScript in uw browserinstellingen in.

Ta strona wymaga obsługi JavaScript, aby działać prawidłowo. Proszę włączyć obsługę JavaScript w ustawieniach przeglądarki.

Laman web ini memerlukan JavaScript untuk berfungsi dengan betul. Sila aktifkan JavaScript dalam tetapan pelayar anda.

Halaman web ini memerlukan JavaScript untuk berfungsi dengan baik. Harap aktifkan JavaScript di pengaturan browser Anda.

เว็บไซต์นี้ต้องการ JavaScript เพื่อทำงานอย่างถูกต้อง โปรดเปิด JavaScript ในการตั้งค่าบราวเซอร์ของคุณ

Bu web sayfasının düzgün çalışması için JavaScript gereklidir. Lütfen tarayıcı ayarlarınızda JavaScript'i etkinleştirin.

Trang web này yêu cầu JavaScript để hoạt động đúng. Vui lòng kích hoạt JavaScript trong cài đặt trình duyệt của bạn.

Эн вэб хуудас нь зөв ажиллахын тулд JavaScript дэмжлэг авах шаардлагатай. Таны броузерын тохиргоонд JavaScript-ийг идэвхжүүлнэ үү.

ဒီဝန်ဆောင်မှုစာမျက်နှာကိုမှားယွင်းရန် JavaScript ကိုလိုအပ်ပါ။ သင့်ရဲ့ဘောဒီကိုပြင်ဆင်ရန် JavaScript ကိုဖွင့်ပါ။

ບໍ່ສາມາດເຮັດວຽກເວັບໄຊນີ້ໄດ້ຖ້າບໍ່ມີການສະຫລັບ JavaScript. ກະລຸນາໃຊ້ການຕັ້ງຄ່າຂອງເວັບໄຊໃຫ້ເປີດ JavaScript ກ່ອນ.

ទំព័រវេបសាយនេះត្រូវការ JavaScript ដើម្បីដំណើរការប្រើប្រាស់បានល្អ។ សូមបើក JavaScript នៅក្នុងការកំណត់របស់អ្នកក្នុងក

  รองปธน.ไต้หวัน เข้าร่วมพิธีเปิด “การประชุมสิทธ... - สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย Taipei Economic and Cultural Office in Thailand :::
Hot News
:::

รองปธน.ไต้หวัน เข้าร่วมพิธีเปิด “การประชุมสิทธิมนุษยชนโลก RightsCon ประจำปี 2568”

Source : 25/02/2025  Taiwan Today

ทำเนียบประธานาธิบดี สภาบริหารและกระทรวงพัฒนาดิจิทัล วันที่ 24 ก.พ. 68

เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 รองประธานาธิบดีเซียวเหม่ยฉินแห่งสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วมพิธีเปิด “การประชุมสิทธิมนุษยชนโลก RightsCon ประจำปี 2568” พร้อมกล่าวว่า อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล มีส่วนช่วยในการผลักดันความก้าวหน้า ยกระดับความโปร่งใสและสร้างศักยภาพอันไร้ขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องประสบกับปัญหาการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว การถูกเฝ้าจับตาและความไม่เป็นกลางของอัลกอริทึม (Algorithm Bias) อันก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ขณะนี้ ไต้หวันกำลังมุ่งส่งเสริมให้การพัฒนาทางดิจิทัล สอดรับต่อค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ควบคู่ไปกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่คุ้มครองเสรีภาพเฉพาะบุคคล หลีกเลี่ยงการนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยรองปธน.เซียวฯ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะประสานความร่วมมือกับประชาคมโลก ในการลดความเหลื่อมล้ำดิจิทัลและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเพลิดเพลินไปกับยุคสมัยแห่งดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม

รอง ปธน. เซียวฯ กล่าวว่า ในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพทางการเมือง ไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสังคมที่เปิดกว้างและมีประชาธิปไตยมากที่สุดในเอเชีย พร้อมย้ำว่า ในฐานะที่ไต้หวันเป็น "ประภาคารแห่งประชาธิปไตย" ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเสรีภาพทางดิจิทัล การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึง และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ สภาพแวดล้อมอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้าง สังคมพลเมืองที่เข้มแข็ง และกลไกการบริหารที่โปร่งใส ทำให้เราสามารถกำหนดนโยบายดิจิทัลที่สร้างสรรค์ได้ ตั้งแต่การส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การแข่งขัน "Presidential Hackathon" หรือ "การแข่งขันแฮกกาธอนชิงถ้วยประธานาธิบดี" ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ยังได้ส่งเสริมแนวทางนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหานโยบายต่างๆ อีกด้วย ปัจจุบัน ไต้หวันพร้อมแล้วที่จะใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อขยายขอบเขตจินตนาการของทั้งรัฐบาลและสังคม อย่างไรก็ตาม กระบวนการปกป้องสิทธิทางดิจิทัลก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากไต้หวันยังคงเผชิญกับภัยคุกคามในโลกดิจิทัลที่บ่อนทำลายประชาธิปไตยและวิถีชีวิตที่เปี่ยมด้วยเสรีภาพของเรา
รองประธานาธิบดีเซียวฯ ยังกล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสงครามข่าวปลอม ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายเร่งด่วนที่สุดที่ไต้หวันกำลังเผชิญอยู่ กลยุทธ์เหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อบ่อนทำลายกลไกประชาธิปไตยของเรา และทำให้สังคมเกิดความไม่มั่นคง ด้วยสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ตึงเครียดขึ้น ไต้หวันยังคงตกเป็นเป้าหมายหลักของการโจมตีทางไซเบอร์ นอกจากนี้ การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์และบิ๊กดาต้า ได้นำมาซึ่งความท้าทายใหม่ๆ ทั้งในเชิงจริยธรรมและความปลอดภัย แม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว การสอดแนม และความไม่เป็นกลางของอัลกอริธึม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้แรงกดดันจากรัฐที่มีแนวคิดแก้ไขประวัติศาสตร์และรัฐบาลเผด็จการ ประเด็นเหล่านี้ยิ่งกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น

อีกหนึ่งความท้าทายที่เราต้องเผชิญ คือความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในระดับโลก รวมถึงช่องว่างทางปัญญาประดิษฐ์ แม้ว่าการพัฒนาในบางสาขาของเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เรายังคงเห็นว่ายังมีชุมชนทั่วโลกจำนวนมากที่ขาดแคลนเครื่องมือทางดิจิทัลและกลไกการป้องกันที่เพียงพอ ทำให้พวกเขาไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

รองปธน.เซียวฯ เชื่อว่าการเป็นเจ้าภาพจัดงาน "RightsCon 2025" ซึ่งเป็นการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทางดิจิทัล แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไต้หวันในการปกป้องสิทธิทางดิจิทัล เสริมสร้างความมั่นคงของเครือข่าย และส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ไต้หวันเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาท้าทายในโลกดิจิทัลนั้น ต้องอาศัยการเปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการแบ่งปันองค์ความรู้ร่วมกัน

ในการประชุมครั้งนี้ นางเติ้งลี่จวิน รองนายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ก็ได้เข้าร่วมด้วย โดยรอง นรม.เติ้งฯ ได้แสดงความขอบคุณต่อบริษัท Access Now ที่สร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ให้แก่สิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล พร้อมจัดตั้งแพลตฟอร์มที่สำคัญอย่าง RightsCon พร้อมกันนี้ รอง นรม.เติ้งฯ ยังได้แสดงความขอบคุณต่อเจ้าภาพที่กำหนดให้ไต้หวันเป็นสถานที่จัดการประชุมประจำปีนี้ เพื่อส่งเสริมให้ไต้หวันมีโอกาสร่วมแบ่งปันการบริหารการปกครองดิจิทัล “รูปแบบไต้หวัน” ที่พวกเรากำลังมุ่งผลักดันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาคมโลก

ท่ามกลางภัยคุกคามทางความมั่นคงไซเบอร์ที่รุนแรง รัฐบาลกำลังดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสารสนเทศและปกป้องความยืดหยุ่นของประชาธิปไตย เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐเผด็จการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตรวจสอบประชาชน ควบคุมความคิดเห็น และสร้างภัยคุกคามของระบอบเผด็จการดิจิทัลต่อทั่วโลก ไต้หวันกลับเลือกแนวทางที่แตกต่าง โดยภาคประชาสังคมและรัฐบาลร่วมมือกันส่งเสริม "การเปิดเผยข้อมูล" และเป็น "รัฐบาลที่เปิดกว้าง" ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

รองนรม.เติ้งฯ ยังเห็นว่า ในทุกยุคสมัย การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีล้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างไรก็ตาม สังคมก็มุ่งมั่นที่จะปรับโครงสร้างของระบบสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอ เพื่อรักษาเสรีภาพ สิทธิ และความเท่าเทียมทางสังคมของทุกคน พร้อมย้ำว่า ภารกิจร่วมกันของรัฐบาลในปัจจุบัน คือ การสร้างมุมมองใหม่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล โดยยึดแนวคิดสิทธิทางดิจิทัลเป็นหลัก สร้างระบบธรรมาภิบาลดิจิทัลที่ดี และให้นิยามสิทธิพลเมือง หน้าที่ของรัฐ และความรับผิดชอบของภาคธุรกิจขึ้นใหม่ นอกจากนี้ รอง นรม. เติ้งฯ ยังย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงความร่วมมือระดับนานาชาติของพลเมืองโลก เพื่อให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพลังขับเคลื่อนที่ให้บริการแก่ "มนุษย์และสังคม"

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและป้องกันความรุนแรงทางดิจิทัล โดยในปี 2568 ถือเป็นปีสำคัญในการสร้างรากฐานของธรรมาภิบาลดิจิทัลในไต้หวัน ซึ่งรัฐบาลได้เสนอการแก้ไข "กฎหมายการบริหารความมั่นคงทางสารสนเทศ" และเตรียมเสนอร่าง "กฎหมายองค์กรคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา "กฎหมายปัญญาประดิษฐ์พื้นฐาน" และ "กรอบกฎหมายการกำกับดูแลข้อมูล" เพื่อพัฒนา AI ที่มีความน่าเชื่อถือ ควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการส่งเสริมนวัตกรรม ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้เสนอ "แผนพัฒนาประเทศอัจฉริยะ 2.0" ซึ่งเป็นแนวทางดิจิทัลใหม่ ที่มุ่งผลักดันห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีขั้นสูงของระบอบประชาธิปไตยระดับโลก ตลอดจนสนับสนุนการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยซอฟต์แวร์และข้อมูล โดยเฉพาะการใช้ AI เพื่อพัฒนาสวัสดิการของมนุษย์ ทำให้ไต้หวันเป็นศูนย์กลางของการประยุกต์ใช้ AI ที่เชื่อถือได้

รอง นรม.เติ้งฯ ยังย้ำว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสภาบริหาร ตนเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่า "นวัตกรรมและความยั่งยืนเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้" และหวังว่าจะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ปัจจุบัน องค์การสหประชาชาติได้กำหนด 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และไต้หวันมีความยินดีที่จะเสนอให้ "การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสวัสดิการของมนุษย์และโลก" เป็นเป้าหมายที่ 18 พร้อมทั้งสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายทั้ง 17 ข้อของ SDGs ด้วย

นอกจากนี้ สำนักงานสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรม ภายใต้สภาบริหาร ยังได้ประสานความร่วมมือกับ “สำนักงานเตรียมการของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” และ “สถาบันวิจัยความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติ” (National Institute of Cyber Security, NICS) ร่วมจัด “การประชุมหารือระหว่างประเทศเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนดิจิทัล ภายใต้แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 ของไต้หวัน” (International Consultative Session od Digital Human Rights Issues under Taiwan' second National Human Rights Action Plan) เพื่ออภิปรายในประเด็น 2 หลัก ได้แก่ “แนวทางการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนดิจิทัล ผ่านแผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” และ “การบ่มเพาะบุคลากรความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจกับกลยุทธ์และแนวทางการผลักดันสิทธิมนุษยชนดิจิทัลของนานาประเทศ ควบคู่ไปกับการนำประสบการณ์ในการฝึกอบรมบุคลากรความเชี่ยวชาญ มาใช้เป็นแนวทางในการร่างแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 ของไต้หวัน และการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อไป

นายหลินหมิงซิน รัฐมนตรีประจำสภาบริหาร ยังกล่าวว่า การพัฒนาดิจิทัลก่อให้เกิดความท้าทายในมิติต่างๆ อาทิ การรุกล้ำความเป็นส่วนตัว ความมั่นคงทางไซเบอร์และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง อาทิ สตรี LGBTQIA+ ผู้ทุพพลลาภ เด็กเยาวชนและกลุ่มชนพื้นเมือง หรือแม้กระทั่งบ่อนทำลายรากฐานของพันธมิตรแห่งประชาธิปไตย ภายใต้ภูมิหลังเช่นนี้ การสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมทางเทคโนโลยี จึงเป็นประเด็นสำคัญและเร่งด่วนที่นานาประเทศจำเป็นต้องร่วมเผชิญหน้า

กระทรวงพัฒนาดิจิทัล (MODA) ชี้ว่า ในฐานะที่ไต้หวันมีบทบาทสำคัญในระบบห่วงโซ่อุตสาหกรรมระดับโลก จึงจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากข่าวปลอมและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม MODA จะยืนหยัดสร้างสังคมดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม ความเจริญรุ่งเรืองและความยุติธรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นจากพื้นฐานทางสันติภาพและประชาธิปไตยในไต้หวัน ซึ่งในอนาคต ไต้หวันจะใช้ขีดความสามารถด้านดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ในการขยายบทบาททางการทูตของไต้หวันต่อไป

ด้วยความพยายามของ MODA อัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในพื้นที่ชนบทของไต้หวัน ได้มากถึง 94% อีกทั้งในการทดสอบ “เครือข่ายรายงานการฉ้อโกงทางออนไลน์” และการจัดตั้ง “แพลตฟอร์มข้อความแจ้งเตือนจากหน่วยงานภาครัฐ 111” เพื่อปราบปรามการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต รักษาความเชื่อมั่นทางดิจิทัล รวมไปถึงการจัดตั้ง “ห้องปฏิบัติการทดลองอากาศยานไร้คนขับและสงครามไซเบอร์” และ “ศูนย์ทดลองระบบและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี AI” สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประเด็นที่นานาประเทศทั่วโลกต้องการเรียนรู้จากไต้หวัน โดย MODA จะเร่งประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนระหว่างประเทศ เพื่อช่วยให้กระทรวงการต่างประเทศ (MOFA) ได้ขยายบทบาทของไต้หวัน ในการสร้างคุณูปการด้านความเชี่ยวชาญทางดิจิทัลให้แก่ประชาคมโลกต่อไป

 

รองปธน.ไต้หวัน เข้าร่วมพิธีเปิด “การประชุมสิทธิมนุษยชนโลก RightsCon ประจำปี 2568”

รองปธน.ไต้หวัน เข้าร่วมพิธีเปิด “การประชุมสิทธิมนุษยชนโลก RightsCon ประจำปี 2568” (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)