此網頁需要支援 JavaScript 才能正確運行,請先至你的瀏覽器設定中開啟 JavaScript。

This webpage requires JavaScript to function properly. Please enable JavaScript in your browser settings.

Cette page web nécessite JavaScript pour fonctionner correctement. Veuillez activer JavaScript dans les paramètres de votre navigateur.

Esta página web requiere JavaScript para funcionar correctamente. Por favor, habilite JavaScript en la configuración de su navegador.

Diese Webseite benötigt JavaScript, um ordnungsgemäß zu funktionieren. Bitte aktivieren Sie JavaScript in Ihren Browser-Einstellungen.

Для корректной работы этой веб-страницы требуется поддержка JavaScript. Пожалуйста, включите JavaScript в настройках вашего браузера.

このウェブページを正常に動作するにはJavaScriptが必要です。ブラウザの設定でJavaScriptを有効にしてください。

이 웹 페이지는 올바르게 작동하려면 JavaScript가 필요합니다. 브라우저 설정에서 JavaScript를 활성화하십시오.

Tato webová stránka vyžaduje pro svůj správný chod podporu JavaScriptu. Prosím, povolte JavaScript v nastavení vašeho prohlížeče.

Ez a weboldal a megfelelő működéshez JavaScript támogatásra szorul. Kérjük, engedélyezze a JavaScript használatát a böngészőjében.

Questa pagina web richiede JavaScript per funzionare correttamente. Si prega di abilitare JavaScript nelle impostazioni del browser.

Šī tīmekļa lapa darbībai ir vajadzīgs JavaScript atbalsts. Lūdzu, ieslēdziet JavaScript savā pārlūkprogrammas iestatījumos.

Esta página da web requer JavaScript para funcionar corretamente. Por favor, ative o JavaScript nas configurações do seu navegador.

Deze webpagina vereist JavaScript om correct te functioneren. Schakel JavaScript in uw browserinstellingen in.

Ta strona wymaga obsługi JavaScript, aby działać prawidłowo. Proszę włączyć obsługę JavaScript w ustawieniach przeglądarki.

Laman web ini memerlukan JavaScript untuk berfungsi dengan betul. Sila aktifkan JavaScript dalam tetapan pelayar anda.

Halaman web ini memerlukan JavaScript untuk berfungsi dengan baik. Harap aktifkan JavaScript di pengaturan browser Anda.

เว็บไซต์นี้ต้องการ JavaScript เพื่อทำงานอย่างถูกต้อง โปรดเปิด JavaScript ในการตั้งค่าบราวเซอร์ของคุณ

Bu web sayfasının düzgün çalışması için JavaScript gereklidir. Lütfen tarayıcı ayarlarınızda JavaScript'i etkinleştirin.

Trang web này yêu cầu JavaScript để hoạt động đúng. Vui lòng kích hoạt JavaScript trong cài đặt trình duyệt của bạn.

Эн вэб хуудас нь зөв ажиллахын тулд JavaScript дэмжлэг авах шаардлагатай. Таны броузерын тохиргоонд JavaScript-ийг идэвхжүүлнэ үү.

ဒီဝန်ဆောင်မှုစာမျက်နှာကိုမှားယွင်းရန် JavaScript ကိုလိုအပ်ပါ။ သင့်ရဲ့ဘောဒီကိုပြင်ဆင်ရန် JavaScript ကိုဖွင့်ပါ။

ບໍ່ສາມາດເຮັດວຽກເວັບໄຊນີ້ໄດ້ຖ້າບໍ່ມີການສະຫລັບ JavaScript. ກະລຸນາໃຊ້ການຕັ້ງຄ່າຂອງເວັບໄຊໃຫ້ເປີດ JavaScript ກ່ອນ.

ទំព័រវេបសាយនេះត្រូវការ JavaScript ដើម្បីដំណើរការប្រើប្រាស់បានល្អ។ សូមបើក JavaScript នៅក្នុងការកំណត់របស់អ្នកក្នុងក

  ความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานฯกับไทย - สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย Taipei Economic and Cultural Office in Thailand :::
:::

ความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานฯกับไทย

  1. การตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการค้า

ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518  ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย พร้อมถอนสถานทูตและสถานกงสุลในประเทศไทยออก แต่เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางปฏิบัติกับไทย สองฝ่ายจึงได้ตกลงให้ต่างฝ่ายต่างจัดตั้งสำนักงานประจำกรุงเทพและไทเปขึ้นมา โดยสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)ได้ตั้งสำนักงานในนาม "สำนักงานผู้แทนสายการบินไชน่าแอร์ไลน์" ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2518  ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานการค้าตะวันออกไกล ประจำประเทศไทย" ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523  และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น " ศูนย์เศรษฐกิจและการค้าไทเป ประจำประเทศไทย" จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าไทเป ประจำประเทศไทย" เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และสุดท้ายมีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย" เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2542

2. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า

2.1 การค้าระหว่างไต้หวันกับไทย

ปี 2022 ประเทศไทยเป็นตลาดการค้าการส่งออกอันดับที่6และเป็นประเทศที่ไต้หวันนำเข้าอันดับที่16ยอดเงินการค้าระหว่างไทยกับไต้หวันในปี 2022คือ16,556 ล้านเหรียญสหรัฐ ไต้หวันส่งออกให้ไทย 11,848ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าจากไทย 47.06ล้านเหรียญสหรัฐ

2.2 การลงทุนระหว่างไทยกับไต้หวัน

ในช่วงปีที่ผ่านมานักธุรกิจชาวไต้หวันได้มุ่งลงทุนในแถบเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนของไต้หวันในไทยมีเงินลงทุนรวม 17,930 ล้านเหรียญสหรัฐ (เงินทุนรวมถึงเดือนกันยายน2565)

นอกจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก เช่นอิเล็กทรอนิกส์, ยาง, เหล็กและปิโตรเคมี นักธุรกิจชาวไต้หวันส่วนมากลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตดั้งเดิมที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม ชนิดการลงทุนหลากหลาย ตั้งแต่ เลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้ง, สิ่งทอ, เครื่องจักร, การนำเข้าส่งออก, เพชรพลอย, ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร, อุปกรณ์กีฬา,  เฟอร์นิเจอร์, เซรามิก, วัสดุก่อสร้าง, ตัวแทนจัดหาทรัพยากรมนุษนย์, พัฒนาอสังหาริมทรัพย์, ตราสาร, บริษัทรักษาความปลอดภัย, ชานมไข่มุก และบริษัทนำเที่ยว ฯลฯ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการลงทุนได้เปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, สิ่งทอ, สารเคมี, ผลิตภัณฑ์แร่อโลหะและผลิตภัณฑ์โลหะในยุคแรกเริ่ม ไปสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบริการทางการเงิน

 

3.ความสัมพันธ์ด้านแรงงานและการท่องเที่ยว

ไต้หวันและไทยมีความสัมพันธ์ด้านแรงงานที่ใกล้ชิด ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกแรงงานเข้ามาทำงานในไต้หวันมากที่สุด ปลายปี 2565 แรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในไต้หวันมีจำนวน 66,976 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ไต้หวันและไทยผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทวิภาคีด้านแรงงานเป็นประจำเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่วนความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวระหว่างไต้หวันกับไทยนั้น ก่อนเกิดโรคโควิด19ระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวจากไต้หวันมาไทยในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 830,000 คน และจำนวนนักท่องเที่ยวจากไทยไปไต้หวันก็เพิ่มขึ้นกว่า 410,000 คน จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสองฝ่ายทะลุ 1 ล้านคน ปี 2565 หลังจากได้รับผลกระทบจากโรคระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสองฝ่ายกลับมาฟื้นตัวที่ราว 180,000 คน

4. ความสัมพันธ์การเกษตร

ไต้หวันกับไทยมีความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการเกษตรอย่างใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือด้านการเกษตรไต้หวัน – ไทยเป็นประจำ นอกจากนี้ ไต้หวันส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตรของมูลนิธิโครงการหลวงไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย จนถึงขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือกันเป็นเวลานานกว่า 50 ปี และประสบผลสำเร็จอย่างมาก มูลนิธิดังกล่าวยังนำรูปแบบความร่วมมือด้านการเกษตรกับไต้หวันที่ประสบความสำเร็จ ไปปรับใช้สนับสนุนการผลิตภาคการเกษตรในพื้นที่ภูเขาของประเทศลาว เวียดนาม และภูฏานด้วย

5. ภาพรวมของกิจการจีนโพ้นทะเล

5.1 ภาพรวมกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล

ชาวจีนมีประวัติโยกย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยมายาวนาน และส่วนใหญ่เป็นชาวกวางตุ้งและชาวฮกเกี้ยน จากสถิติอย่างไม่เป็นทางการ ในประชากร 70 ล้านคนในประเทศไทย มีสัดส่วนชาวจีนประมาณ 10% หรือกว่า 7 ล้านคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีชาวไต้หวันราว 150,000 คน โรงเรียนจีนกว่า 240 แห่ง และมีกลุ่มสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลมาก 600 สมาคม ทั้งนี้สมาคมจงหัวประเทศไทยเป็นสมาคมก่อตั้งขึ้นเป็นอันดับแรก ตามด้วยหอการค้าจีนทั่วไป, ชมรม 9 สมาคม (ระดับภูมิภาค) นอกจากนี้ยังมีสมาคมเพื่อการกุศล, สมาคมกลุ่มอาชีพ, สมาคมเชิงศาสนาและสมาคมจีนในระดับท้องถิ่น และกลุ่มชมรมตระกูลต่างๆอีก 62 กลุ่ม

5.2 ภาพรวมของนักธุรกิจชาวไต้หวัน

นักธุรกิจชาวไต้หวันเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 40 ปี ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักธุรกิจชาวไต้หวันจำนวนมากได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงงานไต้หวันอย่างน้อย 3,000 ราย มีการตั้งสมาคมไต้หวันทั่วประเทศไทยกว่า 15 พื้นที่ และมีสมาคมการค้าไทยไต้หวัน 1 แห่ง สถานที่ตั้งของสมาคมคือ: BANGNA COMPLEX OFFICE TOWER 22 Floor, Room 2/121-122, Soi Bangna-trad 25, Bangna Nua, Bangna, Bangkok  เว็บไซต์: http://www.ttb.or.th สมาคมดังกล่าวให้บริการสมาชิกเป็นอย่างดีและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย

6.ด้านการกงสุล

สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒธรรมไทเป ประจำประเทศไทย รับผิดชอบงานด้านการกงสุลทั้งไทยและบังคลาเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒธรรมไทเป ประจำประเทศไทยและศูนย์เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำอินเดียร่วมกันดูแลงานด้านการกงสุลของบังคลาเทศ) ทั้งนี้เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลและนักธุรกิจชาวไต้หวันมีการติดต่อธุรกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยวในไทยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งกรุงเทพเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศของเอเชียอาคเนย์ มีคนชาติพันธุ์ต่างๆเดินทางผ่านแดนไทยและยื่นขอวีซ่าเดินทางไปไต้หวันจำนวนมาก ประกอบกับแรงงานไทยยังเป็นที่ชื่นชอบของนายจ้างชาวไต้หวัน ทำให้งานด้านการกงสุลของสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒธรรมไทเป ประจำประเทศไทยมีปริมาณสูงที่สุดในบรรดาสำนักงานตัวแทนไต้หวันที่ประจำต่างประเทศ